การสกรีนเสื้อเป็นหนึ่งในวิธีการยอดนิยมที่ใช้ในการพิมพ์ลวดลายบนเสื้อผ้า แต่หนึ่งในเทคนิคที่น่าสนใจ และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการ สกรีนแบบ Sublimation หรือที่เรียกว่า ซับลิเมชั่น ซึ่งมีจุดเด่นและคุณสมบัติที่ทำให้แตกต่างจากวิธีการสกรีนอื่นๆ ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า Sublimation คืออะไร และมีความแตกต่างจากเทคนิคอื่นๆ อย่างไรบ้าง
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ
Sublimation คืออะไร?
สกรีนแบบ Sublimation แตกต่างจากเทคนิคการสกรีนอื่นยังไง?
- เทคการสกรีนแบบ Silk Screen
- เทคการสกรีนแบบ Digital Film Transfer (DFT)
- เทคการสกรีนแบบ Digital to Garment (DTG)
- เทคการสกรีนแบบ Flex Transfer
ควรเลือกเทคนิคงานสกรีนเสื้อแบบไหนให้ตรงกับความต้องการ?
รวมรีวิวลูกค้าที่เคยสั่งทำเสื้อสกรีนกับ PMK
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
Sublimation คืออะไร?

Sublimation หรือ การสกรีนแบบซับลิเมชั่น คือวิธีการพิมพ์ที่ใช้ความร้อนทำให้หมึกเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซโดยตรง แล้วซึมเข้าสู่เส้นใยของผ้า หมึกจะไม่เกาะอยู่บนผิวเนื้อผ้า แต่จะเข้าไปอยู่ในเส้นใยของผ้า ซึ่งจะทำให้ลวดลายที่ได้นั้น คมชัด สีสดไม่ซีดจางง่าย วิธีการนี้จะเหมาะกับผ้าโพลีเอสเตอร์เป็นหลัก
กระบวนการสกรีนแบบซับลิเมชั่นทำงานอย่างไร?
- เริ่มจากการออกแบบลวดลายที่จะพิมพ์ลงบนเสื้อ จากนั้นพิมพ์ลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์
- จากนั้นนำกระดาษทรานเฟอร์ที่พิมพ์ลวดลายเรียบร้อยแล้วไปวางบนผ้าสีขาว แล้วใช้เครื่องสกรีนความร้อนทำการรีดลายสกรีนลงบผ้าสีขาว
- เป็นกระบวนการนี้จะใช้ความร้อนสูงเพื่อทำให้หมึก Sublimation ซึมเข้าสู่เส้นใยผ้าโดยตรง ทำให้ลายสกรีนมีความทนทานและสวยงาม
ข้อดี-ข้อเสีย ของสกรีน Sublimation
ข้อดี:
- พิมพ์ลายได้แบบไม่จำกัดสี ไม่จำกัดลาย
- สีสด ลายคมชัด
- ทนทานต่อการซัก ไม่ลอก หรือ ซีดง่าย
- สามารถพิมพ์ลายซับซ้อน ไล่เฉดสีได้ รายละเอียดเยอะแค่ไหนก็เอาอยู่
ข้อเสีย:
- จำกัดเฉพาะผ้าที่มีโพลีเอสเตอร์เป็นหลัก
- ไม่สามารถใช้ได้กับผ้าสีเข้ม ต้องเป็นผ้าสีขาว เนื่องจากหมึก Sublimation เป็นหมึกโปร่งแสง แต่สามารถพิมพ์ลายได้ทั้งตัว จึงไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไหร่นัก
สกรีนแบบ Sublimation แตกต่างจากเทคนิคการสกรีนอื่นยังไง?

การสกรีนเสื้อแบบ Sublimation มีความโดดเด่นที่แตกต่างจากเทคนิคการสกรีนอื่นๆ อย่างชัดเจน เนื่องจากวิธีการนี้ใช้ความร้อนและหมึกพิเศษที่สามารถซึมเข้าสู่เเนื้อผ้า เมื่อเทียบกับเทคนิคการสกรีนอื่นๆ ที่หมึกจะอยู่บนผิวของผ้า แต่ Sublimation จะทำให้หมึกซึมเข้าสู่เนื้อผ้านั้นเอง
การสกรีนแบบ Silk Screen
Silk Screen หรือการพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นเทคนิคดั้งเดิมที่ใช้ในการพิมพ์ลวดลายลงบนผ้า กระบวนการนี้จะใช้หมึกกดผ่านบล็อกไปยังผ้าโดยตรง ข้อดีของการพิมพ์แบบนี้คือสามารถใช้กับผ้าหลายชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น คอตตอน และโพลีเอสเตอร์ สามารถทำได้หมด ซึ่งการสกรีนแบบนี้ถือว่ามีความทนทานสูงเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามหมึกซิลค์สกรีนจะเกาะอยู่บนผิวผ้า เมื่อใช้หรือซักล้างเป็นเวลานาน ก็อาจเกิดการหลุดลอกหรือซีดจางได้ง่าย
การสกรีนแบบ Digital Film Transfer (DFT)
Digital Film Transfer (DFT) เป็นการพิมพ์ลวดลายลงบนฟิล์ม แล้วรีดร้อนจากฟิล์มลงไปบนผ้า เทคนิคนี้สามารถใช้กับผ้าหลายชนิดได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์เพียงอย่างเดียว ข้อดีของ DFT คือสามารถพิมพ์ลายที่มีความละเอียดและสีสันหลากหลายได้ง่ายเหมาะงานหรือโลโก้ที่มีรายละเอียดที่ซับซ้อน แต่ข้อเสียคืออาจจะมีการหลุดลอกได้บ้าง เมื่อใช้งานไปนาน จะไม่ทนทานเท่ากับ Sublimation
การสกรีนแบบ Digital to Garment (DTG)
DTG หรือ Direct to Garment เป็นเทคนิคที่ใช้เครื่องพิมพ์ดิจิตอลพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้อผ้าโดยตรง โดยไม่ต้องใช้ฟิล์มหรือตะแกรงเหมือนกับเทคนิคอื่น ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถพิมพ์ลวดลายที่มีความละเอียดสูงและสีสันที่หลากหลายได้ทันทีบนผ้า ข้อเสียคือมีข้อจำกัดในการพิมพ์ปริมาณมาก และการซักล้างบ่อยๆ อาจทำให้สีซีดลงได้
การสกรีนแบบ Flex Transfe
Flex Transfer เป็นการใช้แผ่น Flex ซึ่งเป็นวัสดุที่มีลักษณะมันวาวและมีสีเข้ม พิมพ์ลวดลายลงไป แล้วใช้ความร้อนรีดให้ติดลงบนเสื้อผ้า จะมีความทนทานต่อการซัก แต่ข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์ลายที่ซับซ้อนหรือใช้สีที่หลากหลายได้เหมือนกับ Sublimation
ควรเลือกเทคนิคงานสกรีนเสื้อแบบไหนให้ตรงกับความต้องการ?
การเลือกวิธีสกรีนเสื้อให้ตรงกับความต้องการควรพิจารณาจากหลายปัจจัย ดังนี้
พิจารณาตามจำนวนเสื้อที่สั่ง
อันที่จริงแล้วถ้าสั่งในจำนวนมาก การสกรีนแบบ Silk Screen อาจเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากสามารถลดต้นทุนได้เมื่อต้องผลิตจำนวนมาก แต่เทคนิคนี้จะไม่เหมาะกับลวดลายที่ซับซ้อน เพราะฉะนั้นการเลือกใช้การพิมพ์ลาย Sublimation หรือจะเลือกเป็น DFT ก็ได้ขึ้นอยู่กับความชอบ ก็จะเป้นตัวเลือกที่ดีในการสั่งทำเป็นจำนวนมากเช่นกัน
พิจารณาตามเนื้อผ้าที่ต้องการ
ถ้าสนใจสั่งทำเสื้อดดยเลือกเนื้อผ้าโพลีเอสเตอร์ เทคนิค Sublimation จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่ถ้าเลือกเป็นผ้าคอตตอต ควรเลือกใช้เทคนิคอื่นๆ
พิจารณาจากงบประมาณ
หากมีงบประมาณจำกัด Silk Screen และ DFT อาจเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะต้นทุนต่อหน่วยต่ำเมื่อสั่งในปริมาณมาก แต่ถ้าต้องการคุณภาพสูงและลวดลายซับซ้อน Sublimation จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่อย่างไรเรื่องราคาจะขึ้นอยู่กับลาย สี จำนวนการสั่ง ซึ่งจะพิจารราตามเหมาะสม ถูกหรือแพงต้องลองถามเจ้าหน้าขายอีกที
รวมรีวิวลูกค้าที่เคยสั่งทำเสื้อสกรีนพิมพ์ลายกับ PMK
ลูกค้าหลายคน หลายองค์กร ที่เคยสั่งทำเสื้อสกรีน พิมพ์ลาย กับ PMK Polomaker ต่างให้ความเห็นที่ดีเกี่ยวกับคุณภาพของงานพิมพ์ ทั้งความทนทาน และบริการที่ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมหลังการขายที่มีรับประกันสินค้า 30 วัน (ที่เกิดจากความผิดพลาดของเรา) สั่งทำเสื้อกับเราได้มากกว่าที่อื่นแน่นอน

บทส่งท้าย
การเลือกเทคนิคการสกรีนเสื้อที่เหมาะสมไม่เพียงแค่ช่วยให้ได้ลวดลายที่ตรงตามความต้องการ แต่ยังช่วยให้เสื้อผ้ามีคุณภาพดี ทนทาน และตรงตามการใช้งานของคุณอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Sublimation, Silk Screen, DFT, หรือ เทคนิคอื่นๆ แต่ละเทคนิคต่างมีข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจ
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
- Sublimation เหมาะกับผ้าอะไรบ้าง?
เหมาะกับผ้าโพลีเอสเตอร์เพื่อให้หมึกซึมเข้าสู่เส้นใยได้ดี จะไม่ค่อยเหมาะกับเนื้อผ้าอื่นๆ
- ทำไม Sublimation ไม่สามารถใช้กับผ้าสีเข้มได้?
เนื่องจากหมึก Sublimation เป็นหมึกโปร่งแสง จึงไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนบนผ้าสีเข้ม จึงต้องใช้เป็นเนื้อผ้าสีขาวเท่านั้น แต่ไม่ต้องกังวลเพราะมันเป็นราคาเหมาพิมพืลายทั้งตัว สามารถพิมพ์ลายหรือสีทั้งตัวได้ - การสกรีนแบบไหนเหมาะกับการพิมพ์ลายที่ซับซ้อน?
การสกรีนแบบ Sublimation, DFT, DFT เหมาะสำหรับลวดลายที่ซับซ้อนและมีสีสันสดใส ขึ้นอยู่กับความชอบของลูกค้าอีกที - เทคนิคการสกรีนไหนทนทานที่สุด?
Sublimation และ Silk Screen มีความทนทานสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่นๆ - ควรเลือก Sublimation หรือ Silk Screen?
ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้า ราคา และจำนวนที่สั่ง ถ้าเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์แล้วต้องพิมพ์ลายที่ซับซ้อน ไล่เฉดสีควรเลือก Sublimation แต่ถ้าเป็นผ้าฝ้ายลายไม่ซับซ้อนควรเลือก Silk Screen ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆสามารถถามผู้เชี่ยวชาญของเราได้หากสนใจสั่งทำ คลิก
ติดต่อผู้เชี่ยวให้ประเมินราคาได้ถ้าหากสนใจ คลิก
สนใจสั่งทำเสื้อพิมพ์ลาย Sublimation ดูรายละเอียด คลิก