ในยุคที่เรากำลังเผชิญกับปัญหาขยะล้นโลก และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืน แนวทางในการลดขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากขึ้น หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ upcycling และ recycle ซึ่งทั้งสองคำนี้มีความหมายที่คล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วมีความแตกต่างที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ วันนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสองแนวทางนี้ พร้อมทั้งแนะนำเหตุผลที่แบรนด์ PMK Polomaker เลือกใช้กระบวนการ recycle ในการผลิตเสื้อผ้าจากผ้ารีไซเคิลด้วย
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ
- Upcycling คืออะไร?
- Recycle คืออะไร?
- เปรียบเทียบความแตกต่างของ Upcycling กับ Recycle
- ทำไมแบรนด์อย่าง PMK จึงเลือกใช้แนวทาง Recycle?
สรุปบทส่งท้าย
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
1. Upcycling คืออะไร?
Upcycling คือการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาดัดแปลงให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปเชิงลึกเหมือนการรีไซเคิล เช่น การนำผ้าเก่ามาเย็บใหม่ หรือการนำฝาขวดมาทำเป็นของตกแต่งบ้าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องจักรในการแปรรูปมากมาย
การ upcycle พลาสติก ก็คือการนำวัสดุพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ถุงพลาสติกที่ถูกเปลี่ยนเป็นกระเป๋า หรือเสื้อผ้าที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยกว่า recycle โดยจะเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และดีไซน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตนั้นเอง
2. Recycle คืออะไร?
Recycle หรือ “รีไซเคิล” คือการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยกระบวนการนี้จะทำให้วัสดุเหล่านั้นสามารถนำไปใช้งานได้ในรูปแบบใหม่ เช่น การนำขวดพลาสติกเก่ามาแปรรูปให้เป็นผ้าแล้วนำมาเสื้อใหม่ หรือการนำเศษผ้ากลับมาผลิตเป็นผ้าใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เทคโนโลยีในการทำ และนำไปสร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณภาพเหมือนของใหม่
ตัวอย่างเช่น การนำ พลาสติกรีไซเคิล มาใช้ในการผลิตเสื้อผ้า หรือผ้าจากขวด rPET ที่ถูกแปรรูปเป็นเส้นใยที่ทนทานและสามารถนำมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ ที่ PMK Polomaker เราเลือกใช้ผ้ารีไซเคิลที่ผลิตจากพลาสติกเก่า เช่น ขวดน้ำ rPET ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะ และใช้ทรัพยากรให้น้อยลง เป็นต้น
3. เปรียบเทียบความแตกต่างของ Upcycling กับ Recycle
3.1 กระบวนการ
กระบวนการ recycle มักจะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีในการแปรรูปวัสดุให้กลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ส่วน upcycling เป็นการนำวัสดุที่มีอยู่แล้วมาปรับแต่งหรือดัดแปลงให้เกิดมูลค่าเพิ่มในแบบที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยไม่ต้องใช้กระบวนการแปรรูปที่ซับซ้อน
3.2 ความเหมาะสมในการผลิตจำนวนมาก
รีไซเคิล เหมาะสำหรับการผลิตวัสดุจำนวนมาก เพราะเป็นกระบวนการที่สามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้วัสดุที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับของใหม่ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เช่น เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย
ในขณะที่ อัพไซคลิ่ง จะเหมาะสำหรับการผลิตสินค้าจำนวนน้อยหรือสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งอาจไม่สามารถผลิตในปริมาณมากได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับวัสดุที่มีและกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
3.3 การใช้พลังงาน
กระบวนการ recycle มักจะต้องใช้พลังงานในการแปรรูปวัสดุให้อยู่ในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะในการหลอมและผลิตใหม่ ซึ่งอาจมีการใช้พลังงาน ขึ้นอยู่กับสิ่งของที่ต้องการรีไซเคิล
ในขณะที่ upcycling ใช้พลังงานน้อยกว่า เพราะกระบวนการส่วนใหญ่เป็นการดัดแปลงและใช้ของที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ใหม่ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการแปรรูป
3.4 คุณภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก recycle มักจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับสินค้าที่ทำจากวัสดุใหม่ แต่ upcycling อาจจะให้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีความสร้างสรรค์มากขึ้น แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตจากวัสดุใหม่
4. ทำไมแบรนด์อย่าง PMK จึงเลือกใช้แนวทาง Recycle?
การเลือกใช้ recycle ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าของ PMK Polomaker เป็นการตัดสินใจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนและการลดปริมาณขยะพลาสติกในโลก โดยเราเลือกใช้ผ้ารีไซเคิลที่มีคุณภาพสูงจากวัสดุที่ผ่านการแปรรูปเช่น

เสื้อรีไซเคิลรุ่น Re-Fresh ที่ผลิตจากขวดพลาสติกจาก ขวด rPET สัมผัสดี ยับยาก ไ่ม่ติดผิว ซึ่งเสื้อ 1 ตัว
- ช่วยลดปริมาณขยะจากพลาสติกไปได้ 20 ขวดเลยทีเดียว

เสื้อรีไซเคิลรุ่น Re-Cott ที่ผลิตจากเศษผ้ายืด 100% ซึ่งเสื้อ 1 ตัวสามารถช่วยโลกได้เยอะมาก
- ช่วยลดการใช้น้ำไปได้ 22.35 ลิตร
- ประหยัดการใช้พลังงาน 2.51 กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือ เทียบเท่าพลังงานสำหรับหลอดไฟ 193.28 ชั่วโมง
- ลดการปล่อยก๊าซ CO2 0.5 กิโลเมตร หรือ เทียบเท่าการปล่อยก๊าซ CO₂ ในการขับรถ 1.92 กิโลเมตร

เสื้อรีไซเคิลรุ่น Re-Cool ผ้ารีไซเคิลนวัตกรรมการทอ 2 ชั้น ด้านในเป็นเส้นด้ายจากขวดพลาสติก rPET และด้านนอกเป็น Cotton ที่มีคุณสมบัติถ่ายเทอากาศได้ดี ซึ่งเสื้อ 1 ตัวสามารถช่วยโลกได้เยอะมาก
- ช่วยลดการใช้น้ำไปได้ 38.02 ลิตร
- ประหยัดการใช้พลังงาน 4.62 กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือ เทียบเท่าพลังงานสำหรับหลอดไฟ 462.07 ชั่วโมง
- ลดการปล่อยก๊าซ CO2 0.89 กิโลเมตร หรือ เทียบเท่าการปล่อยก๊าซ CO₂ ในการขับรถ 3.43 กิโลเมตร
แน่นอนว่าการใช้ผ้ารีไซเคิลจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต ช่วยให้ PMK Polomaker สามารถนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าของเราได้
สรุปบทส่งท้าย
แม้ว่า upcycling และ recycle จะมีความคล้ายกัน แต่ทั้งสองแนวทางนี้มีความแตกต่างในกระบวนการผลิตและการใช้วัสดุ แต่สิ่งที่สำคัญคือทั้งสองวิธีนี้ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือการลดปริมาณขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม
การเลือกใช้ recycle หรือ upcycling ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม แต่สำหรับแบรนด์อย่าง PMK Polomaker การใช้ผ้ารีไซเคิลเป็นแนวทางที่เรามุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่ทั้งมีคุณภาพและเป็นมิตรกับโลกควบคู่กันไป
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
Q1: การรีไซเคิลพลาสติกมีประโยชน์อย่างไร?
A1: การรีไซเคิลพลาสติกช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องการกำจัด ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Q2: อัพไซเคิล (Upcycling) เป็นกระบวนการที่ใช้วัสดุเหลือใช้จริงหรือ?
A2: ใช่แล้ว อัพไซเคิลคือการนำวัสดุเหลือใช้มาปรับปรุงหรือดัดแปลงให้มีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่ต้องผ่านการแปรรูปที่ซับซ้อน
Q3: ทำไม PMK Polomaker ถึงเลือกใช้การรีไซเคิลในกระบวนการผลิต?
A3: เพราะการทำเสื้อนั้นจำเป็นต้องผ้า และผ้ารีไซเคิลนั้นก็จำเป็นต้องใช้การแปรรูป เพื่อให้ได้คุณภาพที่เทียบเท่ากับสินค้าปกติ PMK Polomaker จึงเลือกวิธีการรีไซเคิลนั้นเอง